top of page
COMPANY.png

รวม สาระน่ารู้ เกี่ยวกับเพชร

สำหรับมือใหม่ ที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเพชร อัพเดตบทความใหม่ สด อยู่เสมอ หากต้องการรับบทความใหม่ๆ ลงทะเบียนเป็นสมาชิกของกับเรา ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

รูปภาพนักเขียนFancycollection.co

ทำไมเพชรถึงมีหลายสี? ความลับเบื้องหลังสีของเพชร ราคาเท่าไหร่ และแต่ละสีมีความหมายอย่างไร มาหาคำตอบกัน

หลายคนอาจคุ้นเคยกับเพชรสีขาว หรือที่เรามักเรียกว่าเพชรไร้สี แต่จริง ๆ แล้ว เพชรไม่ได้มีเพียงแค่สีขาวเท่านั้น แต่ยังมีหลากหลายสีที่สวยงามและหายาก ว่าแต่เพชรแต่ละสีมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? นอกจากเพชรสีขาว ยังมีสีไหนที่ได้รับความนิยมและมีมูลค่าสูงไม่แพ้กัน วันนี้เรามีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากค่ะ!

สีของเพชรแตกต่างกัน เกิดจากอะไร

สีของเพชรนั้นเกิดจากการผสมผสานของปัจจัยธรรมชาติที่ซับซ้อน เช่น ธาตุเจือปน รังสี และการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างผลึกเพชร


สีของเพชรมีกี่แบบ อะไรบ้าง

1. เพชรสีขาว หรือ เพชรไร้สี

เพชรที่ไร้สีจัดเป็นประเภทที่บริสุทธิ์ที่สุดและถือว่าเป็นเพชรที่หายากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเพชรประเภทอื่น โดยมีระดับความไร้สีอยู่ในเกณฑ์ตั้งแต่ D (ไร้สีบริสุทธิ์) ถึง Z (สีเหลืองอ่อนมาก) ซึ่งการมีสีปนเพียงเล็กน้อยก็อาจลดมูลค่าของเพชรได้


2. เพชรสีชมพู

เพชรสีชมพูเกิดจากแรงดันและอุณหภูมิสูงที่ทำให้โครงสร้างอะตอมเปลี่ยนไป เพชรสีชมพูยิ่งมีสีเข้มเท่าไหร่ ราคาก็ยิ่งสูง โดยแพงกว่าเพชรไร้สีถึง 20 เท่า เพชรสีชมพู 1 กะรัตอาจมีราคาตั้งแต่ 100,000 ถึง 1,000,000 ดอลลาร์ เนื่องจากเพชรสีชมพูหายากมาก หลังจากเหมือง Argyle ในออสเตรเลียปิดตัวในปี 2563 ตอนนี้ยังมีเหมืองในแองโกลาเป็นแหล่งสำคัญ คาดว่ามีเพชรสีชมพูเหลืออยู่เพียง 500 เม็ดทั่วโลก อีกทั้งการเจียระไนเพชรสีชมพูยังยากกว่าเพชรสีขาวถึง 3-4 เท่า เนื่องจากโครงสร้างที่ซับซ้อน


3. เพชรสีส้ม

เพชรสีส้มเกิดจากการมีไนโตรเจนในโครงสร้างคาร์บอน ยิ่งมีไนโตรเจนมาก สีส้มก็จะยิ่งเข้ม ส่วนใหญ่เพชรสีส้มมีขนาดเล็กน้ำหนักไม่เกิน6กะรัตเพชรสีส้มที่บริสุทธิ์ที่สุดเรียกว่า Pumpkin Diamonds ส่วนสีส้มที่มีสีชมพูปนจะเรียกว่า Pinkish Orange แหล่งขุดพบหลักคือเหมือง Argyle ในออสเตรเลีย แม้เพชรสีส้มจะไม่หายากเท่าเพชรสีชมพู แต่ด้วยสีสันที่สวยงามทำให้ได้รับความนิยมและเป็นหนึ่งในเพชรที่ถูกปลอมขายบ่อยที่สุด


4. เพชรสีดำ

เพชรสีดำเกิดจากโครงสร้างโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline) ซึ่งประกอบด้วยผลึกสีดำเล็ก ๆ จำนวนมากเชื่อมต่อกัน ทำให้เพชรสีดำแข็งมาก (ระดับ 10 ตามมาตรโมห์ส) และเจียระไนยากกว่าเพชรสีอื่น ราคาเพชรสีดำถูกกว่าเพชรสีขาว เพราะความต้องการในตลาดต่ำ เนื่องจากเชื่อกันว่าสีดำเป็นสัญลักษณ์ของความอัปมงคลและเพชรสีดำไม่เล่นไฟดีเหมือนเพชรสีอื่นเพชรสีดำพบได้เพียงในบราซิลและสาธารณรัฐแอฟริกากลางเท่านั้น


5. เพชรสีม่วง

เพชรสีม่วงเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การมีไฮโดรเจนในปริมาณน้อย ความผิดปกติในโครงสร้างผลึก หรือการทนต่อแรงกดดันสูงในระหว่างการผลิตแหล่งขุดพบเพชรสีม่วงส่วนใหญ่มีในแคนาดา ออสเตรเลีย รัสเซีย และไซบีเรีย ในช่วง 32 ปีที่ผ่านมา พบเพชรสีม่วงเพียง 12 กะรัต โดยสีม่วงที่นิยมมากที่สุดคือสีลาเวนเดอร์ สีอิลิอัก และสีพลัม แม้เพชรสีม่วงจะหาได้ง่ายกว่าเพชรสีแดงหรือสีชมพู แต่หลังจากเหมือง Argyle ปิดในปี 2563 ทำให้ความนิยมของเพชรสีม่วงเพิ่มขึ้นเนื่องจากแหล่งขุดที่สำคัญลดลง


6. เพชรสีเหลือง

เพชรสีเหลืองเป็นสีเพชรที่พบได้ง่ายที่สุดเพราะเกิดจากไนโตรเจนในระหว่างการสร้างเพชรธรรมชาติ แหล่งขุดพบเพชรสีเหลืองส่วนใหญ่คือออสเตรเลีย บราซิล และแอฟริกากลาง แม้จะพบได้บ่อย แต่เพชรสีเหลืองก็ยังหายากเมื่อเปรียบเทียบกับเพชรสีขาว โดยในหนึ่งล้านกะรัตของเพชรขาวจะมีเพชรสีเหลืองเพียง 100 กะรัต เพชรสีเหลืองคิดเป็นประมาณ 60% ของเพชรสีทั้งหมด และมีหลากหลายโทน เช่น สีเหลืองอมส้ม สีเหลืองอมเขียว และสีน้ำตาลอมเหลือง ราคาจะสูงขึ้นตามความเข้มของสี


จะรู้ได้ยังไงว่าเป็นเพชรแท้

  • ชั่งน้ำหนัก หากนำเพชรแท้ที่มีน้ำหนักเท่ากันมาชั่งเทียบกันจะพบว่าจะมีน้ำหนักเท่ากันไม่มาก แต่หากเป็นเพชรปลอมจะมีน้ำหนักมากกว่าเพชรแท้ประมาณครึ่งหนึ่ง

  • ใช้ตามอง หากคว่ำหน้าเพชรลงบนกระดาษแล้วไม่เห็นตัวหนังสือ แสดงว่าเป็นเพชรแท้ที่มีการหักเหแสงแบบเดี่ยว ส่วนเพชรปลอมจะเห็นตัวอักษรชัดเจนเพราะมีการหักเหแสงแบบคู่

  • หายใจรดใส่เพชร หากมีไอน้ำเกาะเพียงไม่กี่วินาทีแล้วหายไปแสดงว่าเป็นเพชรแท้ที่เป็นตัวนำความร้อนได้ดี ส่วนเพชรปลอมจะใช้เวลานานกว่าไอน้ำจะหายไป

  • การหักเหของแสง หากส่องเพชรแล้วสะท้อนแสงสีเทาปนรุ้งออกมาเล็กน้อยแสดงว่าเป็นเพชรแท้ที่มีค่าการกระจายแสงสูงมาก ส่วนเพชรปลอมจะไม่แวววาวเมื่อสะท้อนแสง

  • กล้องส่อง หากเป็นเพชรแท้นั้นจะมีเหลี่ยมคมที่ผ่านการเจียระไนปรับปรุงคุณภาพมาแล้ว ส่วนเพชรปลอมจะมีเหลี่ยมที่ทู่ มีรอยขีดข่วน


ดู 20 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page